มวยไทยสายไชยา



ผู้โพส! : admin
ดูรายละเอียดผู้โพส!
  
มวยไทยสายไชยา
  • 0 ตอบ
  • 1491 อ่าน
« admin»เมื่อ: 13 ธันวาคม 2563, 10:34 »
1. ประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายไชยา พบว่า มวยไทยสายไชยาจากอดีตถึงปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 4 ยุค

          1.1 ยุคแรก กำเนิดขึ้นจากพ่อท่านมาหรือหลวงพ่อมา อดีตนายทหารจากพระนคร สมัยรัชกาลที่ 3 ฝึกมวยให้กับชาวเมืองไชยา และพระยาวจีสัตยารักษ์ เป็นปฐมศิษย์

          1.2. ยุคเฟื่องฟู ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงโปรดฯ ให้มีการชกมวยหน้าพระที่นั่งในงานพระเมรุ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช จากนั้นได้พระราชทานบรรดาศักดิ์แก่นักมวยจากเมืองไชยา คือ นายปรง จำนงทอง เป็นหมื่นมวย มีชื่อ ตำแหน่งกรมการพิเศษเมืองไชยา ถือศักดินา 300 และผู้อยู่เบื้องหลังมวยไทยสายไชยา คือ พระยาวจีสัตยารักษ์ และคุณชื่น ศรียาภัย
          1.3. ยุคเปลี่ยนแปลง ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 นักมวยคาดเชือกชื่อนายแพ เลี้ยงประเสริฐ ชกกับนายเจียร์ พระตะบอง ถึงแก่ความตาย รัฐบาล จึงประกาศให้มีการสวมนวมแทนการคาดเชือก และในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 เกิดขึ้นเพราะต้องรื้อเวทีและพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดบรมธาตุไชยา มรณภาพลงมวยไทยสายไชยาจึงสิ้นสุดลง
          1.4. ยุคอนุรักษ์ หลังจากสิ้นสุดสมัยพระครูโสภณเจตสิการาม (เอี่ยม) มวยไทยสาย ไชยา
เริ่มเลือนหายไปจากความทรงจำของชาวไชยา อย่างไรก็ตามยังมีผู้ที่เคยเรียนมวยไทยสายไชยา แล้วนำมาสืบทอดต่ออีกหลายท่าน เช่น ปรมาจารย์เขตร ศรียาภัย ปรมาจารย์เจือ จักษุรักษ์ นายวัลลภิศร์ สดประเสริฐ
นายทองหล่อ ยา และ นายอมรกฤต ประมวญ นายกฤดากร สดประเสริฐ นายเอล็ก ซุย และพันเอกอำนาจ พุกศรีสุข เป็นต้น

   2. เอกลักษณ์ของมวยไทยสายไชยา พบว่า มีทั้งหมด 6 ด้าน คือ การตั้งท่ามวยหรือการจดมวยท่าครูหรือท่าย่างสามขุม การร่ายรำไหว้ครู การพันหมัดแบบคาดเชือก การแต่งกายและการฝึกซ้อม

   3. กระบวนท่าของมวยไทยสายไชยา พบว่า มีทั้งหมด 5 ชุด คือ แม่ไม้มวยไทยสายไชยา ท่าบริหารกายเพื่อพาหุยุทธ์ ท่ามวยไทยสายไชยาพาหุยุทธ์ เคล็ดมวยไทยสายไชยา และลูกไม้ มวยไทยสายไชยา

   4. ระเบียบประเพณีของมวยไทยสายไชยาและระเบียบการแข่งขันมวยไทยสายไชยา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มกราคม 2564, 08:12 โดย admin »