มวยไทยสายโคราช



ผู้โพส! : admin
ดูรายละเอียดผู้โพส!
  
มวยไทยสายโคราช
  • 0 ตอบ
  • 1176 อ่าน
« admin»เมื่อ: 13 ธันวาคม 2563, 10:34 »
1. ประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายโคราช มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะชาวไทยมีการฝึกการต่อสู้ด้วยอาวุธสั้นประกอบกับศิลปะมวยไทย โดยมีเป้าหมายในการปกป้องประเทศชาติ อีกทั้งโคราชเป็นเมืองหน้าด่านชั้นเอก ที่ต้องทำการรบกับ ผู้รุกรานอยู่เสมอ จึงทำให้ชาวโคราชมีความเป็นนักสู้โดยสายเลือดมาหลายชั่วอายุคน
เมื่อบ้านเมืองสงบ มวยไทยจึงพัฒนามาเป็นศิลปวัฒนธรรมทางการต่อสู้ป้องกันตัวประจำชาติไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นห้วงเวลาที่มวยคาดเชือกรุ่งเรือง มีการจัดการแข่งขันมวยคาดเชือกหน้า พระที่นั่งพลับพลาทรงธรรม สวนมิสกวัน ในงานศพของพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอุรุพงษ์รัชสมโภช ในวันที่ 18 - 21 มีนาคม ร.ศ.128 (พ.ศ.2452) โดยให้หัวเมืองทั่วประเทศ คัดเลือกนักมวยฝีมือดีเข้ามาแข่งขัน นักมวยฝีมือดีชนะคู่ต่อสู้หลายคนจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย ทรงโปรดฯ พระราชทานยศและบรรดาศักดิ์ ให้กับนักมวยจากมณฑลนครราชสีมา เป็นขุนหมื่นครูมวย ถือศักดินา 300 คือ นายแดง ไทยประเสริฐ ลูกศิษย์ลูกศิษย์ของพระเหมสมาหาร เจ้าเมืองโคราช เป็นหมื่นชงัดเชิงชก นอกนี้ยังมีนักมวยจากโคราชอีกหลายคน ที่มีฝีมือดีที่เดินทางเข้าไป ฝึกซ้อมมวยกับกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ณ วังเปรมประชากร
   
   2. เอกลักษณ์ของมวยไทยสายโคราช พบว่า สวมกางเกงขาสั้นไม่สวมเสื้อ สวมมงคลที่ศีรษะขณะชกและที่พิเศษที่แตกต่างไปจากมวยภาคอื่น ๆ คือ การพันหมัดแบบคาดเชือกตั้งแต่หมัดขึ้นไปจรดข้อศอก เพราะมวยไทยสายโคราช เวลาต่อย เตะวงกว้าง และใช้หมัดเหวี่ยงควาย
  3. กระบวนท่าของมวยไทยสายโคราช พบว่า มีการฝึกตามขั้นตอน ฝึกโดยการใช้ธรรมชาติ เมื่อเกิดความคล่องแคล่วแล้วทำพิธียกครู แล้วให้ย่างสามขุมและฝึกท่าอยู่กับที่ 5 ท่า ท่าเคลื่อนที่ 5 ท่า ท่าฝึกลูกไม้แก้ทางมวย 11 ท่า ฝึกท่าแม่ไม้สำคัญสำคัญ ประกอบด้วย ท่าแม่ไม้ครู 5 ท่า และท่าแม่ไม้สำคัญโบราณ 21 ท่า แล้วก็มีโครงมวยเป็นคติสอนนักมวยด้วย พร้อมทั้งคำแนะนำเตือนสติไม่ให้เกรงกลัวคู่ตู่สู้
   4. ระเบียบประเพณีของมวยไทยสายโคราช วิธีจัดการชกมวยนิยมจัดชกในงานศพที่ลานวัด
การเปรียบมวยให้ทหารตีฆ้องไปตามหมู่บ้านแล้วร้องบอก ให้ทราบทั่วกัน เมื่อเปรียบได้แล้วให้นักมวย มาชกประลองฝีมือกันก่อนหากฝีมือทัดเทียมกันก็ให้ชก แล้วนัดวันมาชก ในการเปรียบมวยไม่มีกฎกติกาที่แน่นอน หากพอใจก็ชกกันได้ รางวัลการแข่งขันเป็นสิ่งของเงินทอง หากเป็นการชกหน้า พระที่นั่งรางวัล ที่ได้รับก็จะเป็นหัวเสือและสร้อยเงิน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มกราคม 2564, 08:12 โดย admin »