มวยไทยสายพลศึกษา



ผู้โพส! : admin
ดูรายละเอียดผู้โพส!
  
มวยไทยสายพลศึกษา
  • 0 ตอบ
  • 1047 อ่าน
« admin»เมื่อ: 13 ธันวาคม 2563, 10:33 »
1. ประวัติความเป็นมาของมวยไทยสายพลศึกษา มวยไทยสายพลศึกษาได้ก่อกำเนิดมาพร้อมกับการจัดตั้งสามัคยาจารย์สมาคม เพื่อจัดเป็นสถานที่การออกกำลังกาย สำหรับประชาชนทั่วไป
ปี พ.ศ.2497 โรงเรียนพลศึกษากลาง ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ การเรียนการสอน ก็ยังคงมีการเรียนมวยไทยเหมือนเดิม โดยมีมวยไทยเป็นหมวดวิชาไม่บังคับ หลังจากนาวาเอกหลวงศุภชลาศัย
ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมพลศึกษา ได้ของบประมาณสร้างสนามกีฬาแห่งชาติขึ้นที่บริเวณตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน กรุงเทพมหานครฯ และเรียกว่าสนามกีฬาแห่งชาติ ในขณะเดียวกัน โรงเรียนพลศึกษากลางมีการจัดการเรียนการสอนเต็มเวลา 5 ปี โดยเป็นนักเรียนทุนจากจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งมีหลักสูตรมวยไทยในการเรียนการสอนมวยไทยด้วย
ต่อมาหลักสูตรทางด้านพลศึกษา วิทยาลัยพลศึกษายกฐานะเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา และต่อมาปี พ.ศ.2517 ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒพลศึกษาและกรมพลศึกษาได้เปิดวิทยาลัยพลศึกษา ทั้งกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 17 แห่ง  มวยไทยสายพลศึกษา มีการสืบทอดอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ซึ่งมีปรมาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชามวยไทยสายพลศึกษาที่มีชื่อเสียงนั้นคือ อาจารย์สุนทร ทวีสิทธิ์ หรือ อาจารย์กิมเส็ง ทวีสิทธิ์ อีกคนหนึ่งคือ อาจารย์แสวง ศิริไปล์ ปรมาจารย์มวยไทยสายพลศึกษา นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์ที่สอนในสายพลศึกษาซึ่งเกี่ยวกับมวยไทยอีกมากมาย ซึ่งทำหน้าที่สืบทอดมวยพลศึกษาต่อ ๆ กันมารุ่นสู่รุ่น
บุคคลที่มีชื่อเสียงในมวยไทยสายพลศึกษา อาทิเช่น อาจารย์สืบ จุณฑะเกาศลย์ อาจารย์ผจญ
เมืองสนธ์ อาจารย์ณัชพล บรรเลงประดิษฐ์ อาจารย์นบน้อม อ่าวสุคนธ์ รองศาสตราจารย์ระดม ณ บางช้าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมบูรณ์ ตะปินา อาจารย์นอง เสียงหล่อ อาจารย์จรัสเดช อุลิต ผู้ช่วยศาสตราจารย์โพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรัจฺน์ เสียงหล่อ อาจารย์สงวน มีระหงส์และอาจารย์จรวย แก่นวงษ์คำ ผู้มีชื่อเสียงในการไหว้ครูและร่ายรำท่าสาวน้อยประแป้ง
   2. เอกลักษณ์ของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ เอกลักษณ์ด้านการแต่งกาย เอกลักษณ์ด้านการไหว้ครูและร่ายรำมวยไทย เอกลักษณ์ด้านการเรียนการสอน

   3. กระบวนท่าของมวยไทยสายพลศึกษา พบว่า ประกอบด้วย กลวิธีการใช้หมัด กลวิธีการใช้เท้า กลวิธีการใช้เข่า กลวิธีการใช้ศอก แม่ไม้มวยไทย และลูกไม้มวยไทย

   4. ระเบียบประเพณีของมวยไทยสายพลศึกษา ระเบียบแบบแผนและประเพณีของมวยไทยสายพลศึกษาสามารถแยกออกเป็นประเด็นได้ดังนี้ พิธีการขึ้นครู หรือการยกครู พิธีการไหว้ครู และเครื่องดนตรีประกอบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มกราคม 2564, 08:13 โดย admin »