'ไทยออยล์' เพิ่มทุน-ขายหุ้น GPSC รุกธุรกิจโอเลฟินส์ อินโดนีเซีย



ผู้โพส! : Chanapot
ดูรายละเอียดผู้โพส!
  
'ไทยออยล์' เพิ่มทุน-ขายหุ้น GPSC รุกธุรกิจโอเลฟินส์ อินโดนีเซีย
  • 0 ตอบ
  • 247 อ่าน
« Chanapot»เมื่อ: 31 กรกฎาคม 2564, 05:03 »



บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกาศเข้าร่วมลงทุน ในบริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (“CAP”) ประเทศอินโดนีเซียผ่านบริษัทย่อยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ PT TOP Investment Indonesia โดยเข้าถือหุ้น CAP ที่สัดส่วนร้อยละ 15.38 ใช้เงินลงทุนมูลค่ารวมไม่เกิน 1,183 ล้านดอลลารร์สหรัฐฯ หรือ 39,116ล้านบาท เพื่อก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ โดย CAP มีแผนขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2( CAP2)ปัจจุบัน CAP เป็นผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำรายใหญ่ที่สุดในประเทศอินโดนีเซียเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงงานแยกแนฟทา (Naphtha Cracker) เพียงแห่งเดียวของประเทศ มีกำลังการผลิตเอทิลีน (ethylene) ประมาณ 900,000 เมตริกตันต่อปี และพอลิโอเลฟินส์ (Polyolefins) ที่มีคุณภาพสูง อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิตสไตรีนโมโนเมอร์ (SM) และบิวทาไดอีน (BD) และจะดำเนินการขยายกำลังการผลิตและก่อสร้างโรงงานปิโตรเคมีแห่งที่ 2(CAP2)​ ซึ่งจะทำให้มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมอีกเท่าตัวหรือ2ล้านตันกำหนดแล้วเสร็จในปี2569

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการลงทุนในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของไทยออยล์ในการเดินหน้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์ จากเดิมที่มีธุรกิจสายอะโรเมติกส์อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้โครงสร้างธุรกิจของไทยออยล์มีความสมบูรณ์ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีอย่างครบวงจร และCAP2สามารถรองรับแนฟทาและแอลพีจีจากโครงการ CFP ของไทยออยล์ที่กำลังลงทุนราว 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ​ขยายกำลังกลั่นจาก2.75แสนเป็น4แสนบาร์เรล​ต่อวัน ยอมรับว่าผลกระทบจากโควิด-19 กระทบงานCFPทำให้สร้างได้ต่ำกว่าแผนแต่จะพยายามเร่งให้แล้วเสร็จ​ในปี 2566 ซึ่งจากการร่วมทุนกับอินโดนีเซียครั้งนี้ก็ทำให้ไทนออยล์​ไม่ต้องลงทุนสร้างโอเลฟินส์​เองแต่อย่างใดและคาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้เบื้องต้น 40-50 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี โดย CAP มีการประกาศผลกำไรครึ่งแรกปี64ที่ราว 165 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยการร่วมทุนเกิดประโยชน์หลายด้าน ทั้งการได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัท CAP และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด ถือเป็นการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมีที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการขยายธุรกิจต่อไปในอนาคต การร่วมลงทุนใน CAP ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำทำไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินส์ได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจมีความสมบูรณ์ ครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมี

ทั้งนี้ไทยออยล์ได้ทำสัญญาเพื่อส่งผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่นทั้งแนฟทาและแอลพีจี 1 ล้านตัน/ปีเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบให้กับ CAP และทำสัญญาเพื่อจำหน่ายพอลิเมอร์เรซิน (Polymer Resin) และผลิตภัณฑ์ในรูปของเหลวอื่นๆของ CAP อีกด้วย คาดว่ากระบวนการและการดำเนินการต่างๆในการเข้าร่วมลงทุนใน CAP จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564

สำหรับการจ่ายเงินแก่ CAP จะแบ่งเป็น 2 ครั้งได้แก่ รอบแรกในเดือนก.ย.64 วงเงิน 913 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ​วงเงินส่วนนี้จะมาจากการกู้เงินระยะสั้น 18 เดือนอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2.4 ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นเงินกู้จากปตท.ที่เหลือมาจากสถาบันการเงิน ส่วนรอบที่ 2 จ่ายเงินกลางปี 2565 ประมาณ 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แผนการเงินเข้าลงทุนนั้น บมจ.ปตท.จะสนับสนุนทั้งเงินกู้ระยะสั้นและการเสริมสภาพคล่องโดยยืดระยะเวลาจ่ายหนี้น้ำมันจาก 30 วันเป็น 90 วันหรือเทียบเท่า 3 หมื่นล้านบาท.พร้อมทั้งไทยออยล์​จะขายหุ้นบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน)หรือจีพีเอสซีประมาณร้อยละ 10.8 ให้ ปตท.เป็นวงเงินราว 20,000 ล้านบาทและไทยออยล์​จะเพิ่มทุนอีก 10,000 ล้านบาทกระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในกลางปีหน้า​​โดยท้ายสุดแล้วไทยออยล์จะคงอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนในระดับที่เหมาะสมที่ 1 ต่อ 1 ได้​ และภาพรวมทั้งหมดก็ไม่ต้องขอเพิ่มวงเงินออกหุ้นกู้จากผู้ถือหุ้นอีกแต่อย่างใด